1 ละหมาดในเดือนรอมฎอนนี้ เราไม่ละหมาดช่วงแรกของกลางคืนได้หรือไม่ คือไปละหมาดช่วงสุดท้ายของกลางคืนครับ
2 หากเราละหมาดช่วงแรกกลางคืนที่มัสยิดแล้ว 11 หรือ 23 ร็อกอะฮฺ แล้วตื่นมาละหมาดอีกช่วงสุดท้ายกลางคืนได้มั๊ยครับ ถ้าได้ ทำกี่ร็อกอะฮฺครับ
3. การบริจาคในรอมฎอน หากไม่สามารถบริจาคทุกวันได้แต่เก็บเงินใส่กระปุกทุกวัน และเนียตว่าเมื่อสะดวกไปบริจาคเมื่อไหร่จะนำไปบริจาค อย่างนี้ได้ไหม
4. มุสลิมะฮฺที่ได้รับอนุญาตจากมะหรอมให้ไปเอียะติกาฟที่มัสยิด แต่มะหรอมไม่ได้ไปเอียะติกาฟด้วย จะมีความประเสริฐกว่าการทำอิบาดะฮฺที่บ้านหรือไม่
5. การที่คณะกรรมการมัสยิดที่ร่วมเอียะติกาฟด้วยบังคับให้ผู้เอียะติกาฟร่วมวงฮาลาเกาะฮฺ โดยที่ไม่มีผู้รู้จริงๆ (อาจารย์สอนศาสนา) มาร่วมด้วย จำเป็นต้องปฏิบัติตามหรือไม่
6. ท่านนบีบอกไว้ว่า เสียงของมุสลิมะฮฺนั้นเป็นเอาเราะฮฺ แล้วสำหรับข้อความหรือบทความที่มุสลิมะฮฺพิมพ์เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นในเว็บบอร์ด, บล็อก, เว็บไซต์ต่างๆ นั้น มีขอบเขตอย่างไร?
7. การส่งอีเมล์ระหว่างชายหญิง ถือเป็น “คุลวะฮฺ” หรือไม่ ? ถ้าใช่ เชคมีข้อแนะนำอย่างไร สำหรับกรณีที่มีความจำเป็นต้องติดต่อกับต่างเพศโดยทางอีเมล์, การแช็ต, การใช้อินเตอร์เน็ต
8.ถ้าเราถามคำถามผู้รู้ศาสนาหลายๆคนแต่คำตอบที่ได้ไม่เหมือนกัน แต่ละคนก็เชื่อหลักฐานที่แต่ละคนคิดว่าถูก ซึ่งจริงๆก็ไม่รุ้ว่าอันไหนถูกกันแน่ แล้วเราจะเชื่อใครดี แล้วถ้าเราเลือกหลักฐานนึงแสดงว่าคนที่ทำอีกหลักฐานเราจะหาว่าเขาบิดอะร็อกอะฮฺได้มั้ย เช่นเรื่องยกมือขอดุอาตอนศุบฮิ
9. มีเพื่อนเรียนหมอ เรียนหนักมากจนแทบไม่มีเวลาทำอิบาดัตอื่นๆ ที่ไม่ใช่ฟัรดู เขาบ่นว่าท้อเพราะกลัวว่าถ้าตายไปตอนเรียนยุ่งๆนั้นจะแย่ เสียดายเวลาเพราะเห็นเพื่อนคนอื่นๆเขาเรียนกันง่ายๆๆเช่นนิเทศน์ ทำให้มีเวลาทำอิบาดัต แต่ถ้าไม่เรียนหมอเราก้อจะไม่มีหมอมุสลิมดีๆไม่ใช่หรือคะ เชคมีข้อแนะนำอย่างไร ?
10. ทำไมปฏิทินเวลาละหมาดแต่ละฉบับไม่ตรงกัน
ดาวน์โหลดไฟล์คำตอบได้ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น