18.10.51

คำถามรายการก่อนละศีลอด [7 ก.ย. 51]

1. หะดีษที่กล่าวเกี่ยวกับ การซื้อของแล้วนำมาเปลี่ยนเอาอีกแบบไป หรือคืนเลยในสภาพที่ของไม่ได้ถูกใช้

2. หะดีษที่ว่า “ทุกคนจะต้องรับผิดชอบสิ่งที่อยู่ใต้ปกครอง สามีรับผิดชอบต่อภรรยา ภรรยารับผิดชอบลูกและในบ้านของสามี...” ตรงส่วนที่ว่าภรรยารับผิดชอบในบ้านสามี อยากให้อธิบายสำนวนดังกล่าว และใครบ้างที่ต้องดูแล (สามีไม่มีบ้านของตนเอง แต่อยู่บ้านพ่อแม่สามี)

3. มีความคิดว่าไม่ละหมาดซุนนะฮฺในบางครั้งดีกว่าละหมาด เพราะรู้ตัวเองว่าตนจะขาดคุชัวอฺแน่ การคิดแบบนี้ได้ไหม ซึ่งจริงๆ อยากละหมาดแต่ว่าลูกๆ อยู่ด้วยทำให้เป็นกังวล ไม่คุชัวอฺ เดี๋ยวร้องไห้บ้าง เดี๋ยวซนบ้าง ไม่มีใครว่างให้ฝากลูกได้

4. เด็กก่อนบรรลุศาสนะภาวะ เมื่อทำความดีจะได้รับการบันทึกหรือไม่คะ

5. หลังรอมฎอน หากเราอยากละหมาดตะฮั ดยุต คืออยากอ่านซูเราะฮฺยาวๆ แต่จำไม่ได้ เราสามารถเปิดอัลกุรอานได้หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่เห็นเขามักเปิดกันในรอมฎอนแต่หลังรอมฎอนไม่แน่ใจ

6. ผมอยากละหมาดตัสบีหฺมาก แต่ไม่แน่ใจในขั้นตอน ดูจากหนังสือของอัลอิสลาห์สมาคมแล้วก็ยังไม่เคลียร์ จึงอยากถามว่า ในร็อกอะฮฺที่ 2 ต้องนั่งตะฮียาตด้วยหรือไม่

7. ในที่ทำงานเดียวกัน เราจะปฏิบัติตัวต่อเพื่อนมุสลิมที่ประพฤติตัวไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาอย่างไรได้บ้าง ถ้าเราเคยเตือนแล้วและเขายังคงทำตัวเหมือนเดิม เราควรจะทำอย่างไร

8. อยากทราบถึงหินลอยที่อยู่ที่มัสยิดอัลอักซอว่ามีประวัติหรือความสำคัญหรือไม่อย่างไร ตอนเด็กๆผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่าหินจะลอยสูงมากแต่ถ้าเมื่อไหร่วันกิยามะห์มาถึงหินจะโดนพื้น มีข้อเท็จจริงอย่างไร

9. ได้อ่านบทความเรื่อง"ความประเสริฐของเดือนมุฮัรรอม" และได้ฟังการบรรยายเรื่องก็อลบุนสะลีม ทำไมจึงมีขัดแย้งกันล่ะคะ เช่น - อัลลอฮ์จะลบล้างความผิดของปีที่ผ่านไปแล้วและปีปัจจุบัน"ท่านนบีถูกถามถึง การถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านตอบว่า “ลบล้างความผิดตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา” (บันทึกโดยมุสลิม)" ...แต่ในการบรรยายกล่าวว่า "นบีบอกว่า อัลลอฮ์จะลบล้างความผิดของปีที่ผ่านไปแล้วและปีปัจจุบัน" - ในบทความเขียนว่า "อุละมาอฺบางท่านมีความเห็นชอบให้ถือศีลอดวันที่ 11 รวมไปด้วย เพราะมีหะดีษบทหนึ่งบ่งชี้ถึงการถือศีลอดวันก่อนอาชูรออฺและวันหลังอาชูรออฺ แต่เนื่องจากหะดีษนี้มีสายสืบอ่อนมาก(ฎออีฟญิดดัน) จึงไม่ควรนำมาใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ" ***....แต่ในการบรรยายกล่าวว่า "ถ้าจะถือศีลอดวันที่ 9-10-11 เผื่อไว้ เผื่อข้อแตกต่างระหว่างปฏิทิน เกรงว่าเข้าเดือนไม่เหมือนกัน อาจไม่ตรงกัน ถ้าถือศีลอด 3 วันก็คลุมแน่ คลุมวันอาชูรอแน่ แบบนั้นก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน" ***ด้วยความเคารพ เคยได้ยินว่า เรื่องการปฏิบัติศาสนกิจ ไม่มี "เผื่อ" ไม่ใช่หรือคะ

10. ชายคนหนึ่งมีหลาน (ลูกของน้องสาว) ซึ่งเป็นเด็กกำพร้า (บิดาเสียชีวิต) และในครอบครัวของเด็กกำพร้ารายได้ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงชีพ ผู้ที่เป็นน้าชายจะนำเงินซะกาตของตนเองจ่ายให้หลานได้หรือไม่

11. มีเด็กกำพร้าคนหนึ่ง บิดาเสียชีวิต แต่ทิ้งทรัพย์สมบัติเงินสด ไว้มากพอที่จะเลี้ยงชีพได้ไปยังเติบโต เด็กคนนี้มีสิทธิรับซะกาตหรือไม่

12. มีเด็กกำพร้าคนหนึ่ง บิดาเสียชีวิต แต่ทิ้งทรัพย์สมบัติที่ดินไว้มาก แต่มีเงินสดเพียงเล็กน้อย(บางเดือนไม่เพียงพอในการใช้จ่าย) เด็กคนนี้มีสิทธิรับซะกาตหรือไม่

13. การนิกาหฺที่บ้านกับที่มัสยิดต่างกันอย่างไร แล้วถ้าฝ่ายชายกับฝ่ายหญิงมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เรื่องควรลงเอยอย่างไร

14. อยากทราบทัศนะของนักวิชาการเกี่ยวกับประโยชน์ที่คนตายได้รับจากการกระทำของคนเป็นนั้นมีขอบเขตอย่างไร และวิธีการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ตายในลักษณะ การทำแทนให้ และการทำเศาะดะเกาะฮนั้น ต้องเป็นบุตรหลานเท่านั้นหรือรวมถึงผู้อื่นด้วยทั้งนี้จากฮะดิษซอเฮียะหที่ว่า "เมื่อมนุษย์ที่เป็นลูกหลานของอาดัมสิ้นชีวิตลงการทำความดีของเจาก็ขาดตอนลงยกเว้นสามประการคือ การอุทิศถาวรวัตถุไว้ หรือวิชาความรู้ที่มีประโยชน์ หรือบุตรที่มีคุณธรรมวิงวอนขอดุอาอให้เขา" และประโยชน์ที่คนตายจะได้รับจากคนเป็นนั้นจะเกิดจากการกระทำของคนเป็นที่กระทำเพื่อตนเองและยกหรืออุทิศผลบุญจองตนให้ด้วยหรือไม่อย่างไร

15. อยากทราบว่าฮุก่มศาสนามีว่าอย่างไรในการใช้กระดาษชำระ ชำระนะยิสโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุจจาระและปัสสาวะ ซึ่งจะพบโดยทั่วไปตามห้องน้ำสาธารณะ ทั้งๆที่มีน้ำอยู่ด้วยแต่ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ในการนำน้ำประปามาใช้ล้างอวัยวะและทำความสะอาดนะยิสได้

16. และถ้าหลังจากชำระนะยิสด้วยกระดาษชำระแล้วเราจะเอาน้ำละหมาดและไปละหมาดประจำเวลาได้เลยหรือไม่ หรือว่าต้องล้างด้วยน้ำอีกครั้งหนึ่งก่อนเอาน้ำละหมาดและไปละหมาดเพราะเคยได้ฟังมาว่าจะต้องไปล้างนะยิสนั้นอีกครั้งด้วยน้ำมิเช่นนั้นถือว่ามีความสะอาดไม่พอเพียงตามเงือนไขของการละหมาดที่จะไปทำการละหมาด



ดาวน์โหลดไฟล์คำตอบได้ที่

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังคำถาม